Tag Archives: สะหวันนะเขต

การศึกษาปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดันที่ทำให้แรงงานเวียดนามเข้าไปทำงานในสะหวันนะเขต

38_20120315120530.

แรงงานข้ามชาติในอนุภูมิภาคลุ่มแม่นํ้าโขง เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมและบริการ ที่ข้ามเส้นพรมแดนและในบางครั้งก้าวข้ามข้อ กำหนดของรัฐ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยดึงดูดและปัจจัยผลักดันที่ทำให้แรงงานเวียดนามเข้าไปทำงานในสะหวันนะเขต การเข้าสู่กระบวนการทำงานในสะหวันนะเขตและการปรับตัวของแรงงาน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกแรงงานเวียดนามจำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยผลักดันในเวียดนามที่ทำให้แรงงานเวียดนามเข้าไปทำงานในสะหวันนะเขต คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจความหนาแน่นของประชากรในเวียดนามและปัจจัยในด้านครอบครัว ส่วนปัจจัยดึงดูดใน สปป. ลาว คือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งความสัมพันธ์พิเศษระหว่างรัฐต่อรัฐของเวียดนามและลาวที่เอื้อให้แรงงานเวียดนามอยู่ในลาวได้อย่างมั่นใจในความปลอดภัย แรงงานเวียดนามอาศัยโครงข่ายทางสังคมของญาติพี่น้องและเพื่อนเข้าสู่การเป็นแรงงานข้ามชาติในลาวรวมทั้งช่วยในการปรับตัวในถิ่นปลายทาง

แขวงสะหวันนะเขตตั้งอยู่ในพื้นที่ภาคกลางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ราว 480 กิโลเมตร ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างจังหวัดมุกดาหารกับจังหวัดกว่างจิของเวียดนาม ที่เชื่อมโยงไปเมืองเว้ และดานัง ทำให้สะหวันนะเขตเป็นจุดเชื่อมเส้นทางคมนาคมที่สำคัญของลาว ทั้งการคมนาคมทางบก ทางนํ้าและทางอากาศ โดยทิศเหนือมีพื้นที่ติดกับแขวงคำม่วน ทิศใต้ติดกับแขวงสาละวัน ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดกว่างจิและกวางบิญห์ของประเทศเวียดนาม และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดมุกดาหาร นครพนม อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ โดยมีแม่นํ้าโขงเป็นแนวกั้นชายแดนเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2549 มีพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย−ลาว แห่งที่ 2 สะหวันนะเขตมุกดาหาร อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมแนวเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตกจากเวียดนามถึงพม่า ทำให้สะหวันนะเขตกลายเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญอีกแห่งของลาว นอกจากนี้ยังมีเส้นทางหมายเลข 13 ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมโยงตามแนวเหนือ-ใต้ของ สปป. ลาว ระยะทางรวมราว 1,400 กิโลเมตร โดยจะบรรจบกับเส้นทางหลักหมายเลข 7 ของ กัมพูชา และเส้นทางหมาย เลข 9 ของลาวจะตัดกับเส้นทางหมายเลข 13 ที่แยกเซโนในแขวงสะหวันนะเขตส่งผลให้สะหวันนะเขตเป็นพื้นที่ศักยภาพแห่งหนึ่งของ สปป.ลาวที่มีถนนเชื่อมต่อกับประเทศต่าง ๆ ในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ถึง 5 ประเทศ สามารถ ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี